วันพุธ, กุมภาพันธ์ 13, 2556

อารยธรรมอินเดียโบราณ(ม.2)


อินเดีย เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดีย  ดังนี้
1.              สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน พบหลักฐานเป็นซากเมือง
โบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ เมืองโมเฮน-โจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน เมืองฮารัปปา  ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
2.              สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค
2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษร บรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์คุปตะ
เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู และพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดแล้ว
                        1)  สมัยพระเวท เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน ที่เข้ายึดครองดราวิเดียนหรือชาวทราวิฑที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้  ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์ และระบบวรรณะ 4   วรรณกรรมสำคัญในยุคนี้ ได้แก่
                        ก. คัมภีร์พระเวท เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ ใช้วิธีท่องจำต่อๆ กันมา ประกอบด้วย 4 คัมภีร์คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท และอาถรรพเวท
                        ข. มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่า แสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชาวอารยัน (พระราม)
กับชาวทราวิฑ (ทศกัณฑ์) แต่งโดยฤษีวาลมิกิ
                        ค. มหากาพย์มหาภารตยุทธ ว่าด้วยการต่อสู้ของพี่น้องสองตระกูล (ปานฑพ-เการพ)
                        ง. คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีตประเพณี หลักศีลธรรม
                  2)  สมัยพุทธกาล   เกิดพระพุทธศาสนา และมีการใช้ภาษาบาลี (มคธ) เกิดศาสนาเชน ผู้ก่อตั้งคือ
วรรธมาน มหาวีระ
                  3)  สมัยราชวงศ์เมารยะ  พระเจ้าจันทรคุปต์ ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่น เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณทูตไป             เผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น
                  4)  สมัยราชวงศ์กุษาณะ  พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน และตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีนและธิเบต
                  5)  สมัยราชวงศ์คุปตะ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
เป็นยุคทองของอินเดียทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง ปรัชญา ศาสนา
2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง  ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย  สมัยจักรวรรดิโมกุล พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุ
บำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ พระเจ้าชาร์ จะฮาน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม เป็นผู้สร้างทัชมาฮาลที่มีความงดงามยิ่ง
2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่  เริ่มตั้งแต่ปลายราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆ เข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย  ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ
สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา การศาล การศึกษา  ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...