วันจันทร์, พฤศจิกายน 19, 2555

การสถาปนากรุงธนบุรี (ม.2)


การสถาปนากรุงธนบุรี
ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าแล้ว  บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง  ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล  อย่างไรก็ตาม  การเสียกรุงครั้งที่ นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า  จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น  เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพ
ชุมนุมคนไทยทั้ง  5  ชุมนุม
v      ชุมนุมเจ้าพิมาย
v      ชุมนุมเจ้าพระฝาง
v      ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
v      ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
v      ชุมนุมเจ้าตาก  หรือพระยาตาก (สิน) 
พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช
§  พระนามเดิม  สิน  มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน 
§  บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน) 
§  มารดาชื่อ  นางนกเอี้ยง
§  ได้รับการศึกษาอบรม จนได้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่ง เจ้าเมืองตาก
§  ฝีมือในการรบเข้มแข็ง  จึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา
§  เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ  500  คน  ตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป
§  รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก  แล้วตั้งที่มั่นที่เมืองจันทบุรี  เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร 
§  เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว  ได้เคลื่อนทัพเรือ มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ ค่ายโพธิ์สามต้น
§  สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ
หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว  เจ้านายและข้าราชการ ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่  4  แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า  พระเจ้าตากสิน  หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี
สาเหตุที่ย้ายจากกรุงศรีอยุธยา
§  ได้รับความเสียหายจากการรบแบบกองโจรของพม่า
§  กรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตกว้างขวาง เกินกำลังที่จะรักษาไว้ได้
§  ข้าศึกษารู้จักภูมิประเทศเป็นอย่างดี 
§  ข้าศึกษาสามารถโจมตีนได้ทั้งทางบกและทางน้ำ
§  ตั้งอยู่ห่างจากปากน้ำมาก  ไม่เหมาะในการค้าทางทะเล
สาเหตุที่เลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
§  กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก
§  ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา  สะดวกในการติดต่อค้าขาย
§  สะดวกในการควบคุมกำลัง ลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ
§  ถ้าไม่อาจต้านทานข้าศึกได้  สามารถย้ายที่มั่นไปอยู่ที่จันทบุรีได้
§  ธนบุรี มีป้อมปราการที่เคยสร้างไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา

วิวัฒนาการธนบัตรไทย (ม.4)



วิวัฒนาการธนบัตรไทย
ก่อนที่จะมีการนำธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่น ๆ ในระบบการเงินของประเทศ ชนชาติไทยได้ใช้หอยเบี้ย  ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง  ปี้กระเบื้อง  และเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ประกับ

ปี้กระเบื้อง

หอยเบี้ย

เงินพดด้วง
จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติและเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถผลิตเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักในขณะนั้นได้ทันต่อความต้องการ ทั้งยังมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมออกใช้ปะปนในท้องตลาด จนเป็นปัญหาเดือดร้อนกันทั่วไป ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดแรกขึ้นใช้ในระบบเงินตราของประเทศ เรียกว่า  หมาย
หมาย  เป็นกระดาษสีขาวพิมพ์ตัวอักษรและลวดลายด้วยหมึกสีดำ ประทับตราพระราชสัญลักษณ์ประจำพระราชวงศ์จักรีรูปพระแสงจักร และพระราชลัญจกรประจำพระองค์รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ด้วยสีแดงชาด เพื่อป้องกันการปลอมแปลง หมายที่โปรดให้จัดทำมี ๓ ประเภท ได้แก่ หมายราคาต่ำ  หมายราคากลาง (ตำลึง) และหมายราคาสูง  อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่หมายเป็นเงินตราชนิดใหม่ ในขณะที่ราษฎรยังคงคุ้นเคยกับเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราโลหะมาแต่โบราณ จึงไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายตามพระราชประสงค์  
หมายราคากลาง(ตำลึง)

หมายราคาต่ำ

หมายราคาสูง
ต่อมาระหว่างพุทธศักราช ๒๔๑๕ - ๒๔๑๖ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดปัญหาเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่ำซึ่งเป็นเงินปลีกที่ทำจากดีบุกและทองแดงขาดแคลน ประกอบกับมีการนำ ปี้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเงินในบ่อนการพนันมาใช้แทนเงินตรา ในพุทธศักราช ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดราคาต่ำเรียกว่า อัฐกระดาษ ให้ราษฎรได้ใช้จ่ายแทนเงินเหรียญที่ขาดแคลน แต่อัฐกระดาษก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกับหมาย 

อัฐกระดาษ

เงินกระดาษชนิดต่อมา คือ บัตรธนาคาร ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ได้ขออนุญาตนำบัตรธนาคารออกใช้ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๒, ๒๔๔๑, และ ๒๔๔๒ ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประสบปัญหาไม่สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ทันต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ 
             บัตรธนาคาร มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดหนึ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้า ดังนั้น การหมุนเวียนของบัตรธนาคารจึงจำกัดอยู่ในวงแคบเฉพาะบุคคลที่มีความจำเป็นต้องติดต่อธุรกิจกับธนาคารดังกล่าวเท่านั้น อย่างไรก็ดี บัตรธนาคารมีส่วนช่วยให้ประชาชนรู้จักคุ้นเคยกับเงินที่เป็นกระดาษมากขึ้น และเนื่องจากมีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า ๑๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๔๕) ทำให้การเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ ในขณะนั้น สร้างความเคยชินให้คนไทยเรียกธนบัตรของรัฐบาลที่ออกใช้ในภายหลังว่า แบงก์ จนติดปากมาถึงทุกวันนี้

ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน

ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้

ธนาคารแห่งอินโดจีน


ขณะเดียวกันรัฐบาลในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าบัตรธนาคารที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกใช้อยู่ในขณะนั้น มีลักษณะคล้ายกับเงินตราที่รัฐบาลควรจัดทำเสียเอง ในพุทธศักราช ๒๔๓๓ จึงได้เตรียมการออกตั๋วเงินของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า เงินกระดาษหลวง โดยสั่งพิมพ์จากห้างกีเชคเก้ แอนด์ เดวรีเอ้นท์ (Giesecke & Devrient) ประเทศเยอรมนี จำนวน ๘ ชนิดราคา เงินกระดาษหลวงได้ส่งมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๕ แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของทางการในการบริหาร จึงมิได้นำเงินกระดาษหลวงออกใช้ 
เงินกระดาษหลวงชนิดราคา ๑๐๐ บาท

เงินกระดาษหลวงชนิดราคา ๔๐๐ บาท

เงินกระดาษหลวงชนิดราคา ๘๐ บาท

จนกระทั่งพุทธศักราช ๒๔๔๕  จึงเข้าสู่วาระสำคัญในการออกธนบัตร กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ อีกทั้งโปรดให้จัดตั้ง กรมธนบัตร ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรและรับจ่ายเงินขึ้นธนบัตร และเปิดให้ประชาชนนำเงินตราโลหะมาแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕  จึงนับว่าธนบัตรได้เข้ามามีบทบาทในระบบการเงินของไทยอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา
              ธนบัตรที่นำออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ นั้น มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาลที่สัญญาจะจ่ายเงินตราให้แก่ผู้นำธนบัตรมายื่นโดยทันที ต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๔๗๑  ซึ่งกำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ตลอดจนให้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของธนบัตรจากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่างสมบูรณ์ 


ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย





วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 12, 2555

บุคคล (ม.3)

กฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล
ประเภทของบุคคล
Ø บุคคลในทางกฎหมาย หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ
บุคคล คือ มนุษย์ คือ มนุษย์เราโดยทั่วไป
นิติบุคล คือ สิ่งที่กฎหมายสมมติว่าเป็นบุคคลหรือยกขึ้นเป็นบุคคลเพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ได้ตามกฎหมาย
บุคคลธรรมดา
การเริ่มสภาพบุคคล
สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
Ø ทารกพ้นจากคลอดของมารดา
Ø อยู่รอดเป็นทารก
Ø ทารกในครรภ์มารดาปกติยังไม่ถือว่ามีสภาพบุคคล โดยหลักจึงไม่อาจมีสิทธิใด ๆ ในทางกฎหมาย แต่
Ø .แพ่งฯ มาตรา ๑๕ วรรคสอง บัญญัติว่า ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
เช่น สิทธิในการรับมรดกจากบิดาที่ตายในระหว่างที่ทารกนั้นยังอยู่ในครรภ์มารดาโดยการคลอดนี้จะต้องคลอดภายในระยะเวลา ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
การสิ้นสุดสภาพบุคคล
            สภาพบุคคลสิ้นสุดลงเมื่อตาย ( มาตรา ๑๕ ) การตายตามกฎหมายนั้นมีอยู่ ๒ กรณี คือ
Ø การตายตามธรรมชาติ
Ø การตายโดยผลของกฎหมาย
การตายตามธรรมชาติ หมายถึง คนสิ้นชีวิต โดยหลักจะได้แก่ ระบบการทำงานของร่างกาย ๓ ระบบ ไม่ทำงาน คือ
Ø ระบบประสาทกลาง ได้แก่ สมอง
Ø ระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด
Ø ระบบหายใจ ได้แก่ หลอดลมและปอด
การตายโดยผลของกฎหมาย คือ บุคคลที่ศาลสั่งแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ
Ø การที่บุคคลถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ แต่ในกรณีที่มีเหตุภยันตรายจากการรบหรือสงคราม ยานพาหนะสูญหาย ระยะเวลาจะลดเหลือ ๒ ปี
นิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Ø สมาคม มูลนิธิ  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
กฎหมายอื่น
Ø กระทรวงและกรมในรัฐบาล ราชการบริหารส่วนภูมิภาค วัด
ผู้เยาว์
ผู้เยาว์คือใคร
Ø มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ยี่สิบปี บริบูรณ์
Ø มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสหากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448
การสมรสของผู้เยาว์
Ø มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
การทำนิติกรรมของผู้เยาว์
Ø มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
Ø มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
Ø มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
Ø มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
Ø มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
Ø  มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่งถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร
ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจ
มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้
ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจ หรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
ถ้าการประกอบธุรกิจ หรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้
ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาล ให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้
การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรม หรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลงแต่ไม่กระทบกระเทือนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...