วันจันทร์, กันยายน 05, 2554

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ม.5)

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากการที่โลกได้ถูกแบ่งออกเป็นประเทศ แต่ละประเทศต่างผลิตสินค้าหรือบริการแตกต่างกัน เมื่อแต่ละประเทศต่างเกิดความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่ตนผลิต
ได้เป็นจำนวนมากกับสินค้าและบริการที่ตนผลิตได้น้อยหรือผลิตไม่ได้เลยกับประเทศอื่น ประกอบกับการคมนาคมไปมาหาสู่กันสะดวก การค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้น
นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
1.นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy)
เปิดโอกาสให้มีการค้ากันโดยไม่มีการแทรกแซง
2.นโยบายคุ้มครอง (Protection Policy)
รัฐเข้ามาแทรกแซงเพราะอุตสาหกรรมบางประเภทไม่สามารถสู้กับต่างประเทศได้
การลงทุนระหว่างประเทศ
1.การให้กู้ยืมและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
คล้ายกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในประเทศแต่จะมีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมาเกี่ยวข้องด้วย
2.การลงทุนโดยตรง
การก่อตั้งกิจการหรือเพิ่มสาขาของบริษัทต่างประเทศ

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ราคาของเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่น
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราสากล (Foreign Exchange Market) เป็นสถาบันตลาดการเงินที่ใหญ่สุดในโลก ด้วยปริมาณการซื้อขายเกิน 4 ล้านล้านเหรียญต่อวัน ประมาณ 3 เท่าของตลาดหุ้นทุกชนิดในโลกรวมกัน
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange Rate)
1. อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Change Rate)
กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลของตนกับเงินตราสกุลหลักอื่น ณ อัตราหนึ่งอย่างเป็นทางการ โดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ดังเช่นในระบบมาตรฐานทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนจะคงที่ ณ ราคาเสมอภาคซึ่งเทียบค่าผ่านน้ำหนักของทองคำ แต่ในระบบมาตรฐานปริวรรตทองคำจะกำหนดให้เงินสกุลต่างๆ มีอัตราแลกเปลี่ยนกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ในอัตราคงที่ โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็จะผูกพันกับค่าของทองคำ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ได้ถูกยกเลิกไปจากหลักเกณฑ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อ พ.ศ. 2516 และใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแทน
2. อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate)
การปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพอุปสงค์และอุปทานในตลาดการเงิน ระบบนี้ได้รับการนำมาใช้โดยประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ  เนื่องจากเห็นว่าระบบอัตราแลกเลี่ยนคงที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่งจะอ่อนหรือแข็งขึ้นอยู่กับอัตราเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศนั้นที่เป็นเงินตราสกุลแข็ง(Hard Currency) และทองคำ รวมทั้งอัตราภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และความแข็งแกร่งของระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงได้ (Flexible Exchange Rate)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...