วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 18, 2554

นโยบายการเงินและสถาบันการเงิน (ม.5)

นโยบายการเงิน Monetary policy
เงิน คือ อะไร
ตัวกลางการแลกเปลี่ยนในสิ่งที่เราต้องการและพอใจจากคนสองคนขึ้นไป
นโยบายการเงิน คือ อะไร
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่
·       ปริมาณเงิน (Money supply)
·       อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate)
·       อัตราดอกเบี้ย (Interest rate)
ทำไมต้องมีนโยบายการเงิน
ธนาคารกลางสามารถดูแลปริมาณเงินเพื่อความมีเสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
หน้าที่ของเงิน
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. เป็นมาตรฐานในการวัดค่า
3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต
4. เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า
วิวัฒนาการของเงิน
ระยะแรก >>> ใช้สิ่งหายาก (ไม่คงทน,ติดตัวลำบาก,ย่อยยาก)
ต่อมา >>> โลหะมีค่า
ต่อมาอีกที >>> ธนบัตร
ตลาดการเงิน
ตลาดเงิน (money Market)
ระดมเงินทุนและให้สินเชื่อไม่เกิน 1 ปี
ตลาดทุน (Capital Market)
ระดมเงินออมและสินเชื่อระยะยาว
สถาบันทางการเงิน
สถาบันที่ทำธุรกิจด้านการเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน รวมถึงบริการอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
ธนาคารพาณิชย์
ทำหน้าที่หลักในการรับฝากเงินเพื่อนำไปปล่อยกู้และนำเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในลักษณะอื่นเพื่อให้เกิดผลประโยชน์
·       เงินฝากออมทรัพย์
·       เงินฝากประจำ
·       บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
ธนาคารพาณิชย์ตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกโดยเป็นธนาคารของต่างประเทศ คือธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้
ต่อมาได้จัดตั้งธนาคารของไทย ชื่อ บุคคลัภย์  ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ
รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินหรือส่งเสริมเงินเฉพาะด้าน
1. ธนาคารออมสิน
รับฝากเงินจากประชนทั่วไป ออกสลากออมสินซึ่งผู้ออมมีสิทธิ์ถูกสลากออมสินได้
หาเงินทุนให้รัฐบาลโดยตรง
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เป็นสถาบันการเงินเฉพระกิจที่มีจุดประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการดำเนินงานของเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ช่วยเหลือทางการเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย และปานกลางได้มีที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยการให้กู้ยืมเงินไปซื้อหรือจัดซื้ออาคารและที่ดิน สร้างซ่อมอาคาร ไถ่ถอนจำนอง ตลอดจนให้เช่าซื้อที่ดินหรืออาคารให้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง
4.บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
กิจการเครดิตฟองซิเอร์ หมายความถึง กิจการให้กู้ยืมเงิน โดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ
กิจการรับซื้อฝาก หมายความถึง กิจการรับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝากเป็นทางค้าปกติ
5. โรงรับจำนำ
โรงรับจำนำ – เอกชน
สถานธนานุเคราะห์ – รัฐบาล(กระทรวงมหาดไทย)
สถานธนานุบาล – เทศบาล

สถาบัน
หน่วยงานที่ควบคุม
ธนาคารพาณิชย์
บริษัทเงินทุน
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
บรรษัทธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม
สหกรณ์การเกษตร
สหกรณ์ออมทรัพย์
บริษัทประกันภัย
โรงรับจำนำ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...